วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เขียนโดย ปณชัย ทองศิริ

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน

      ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application  software  for  

specific purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้

งานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ  ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้

ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ หรืออาจพัฒนาโดยนัก

เขียนโปรแกรมขององค์กร  โดยผ่านการวิเคราะห์  ออกแบบ  ลงมือ

สร้าง  และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะนำ

มาใช้งานได้  เช่น  โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร  โปรแกรม

บันทึกเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน  โปรแกรมเงินเดือน  ซึ่งต้องมี

การออกแบบโครงสร้างซอฟต์แวร์เพื่อให้ใช้งานได้ตามต้องการ


1) ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (business  software) การประยุกต์
ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป  แต่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างได้  เช่น  กิจการธนาคาร  มีการฝาก-ถอนเงินงานทางด้านบัญชี  หรือในห้างสรรพสินค้ามีงานการขายสินค้า  การออกใบเสร็จรับเงิน  การควบคุมสินค้าคงคลัง  ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ  สำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย  ซอฟต์แวร์
สำหรับงานธุรกิจมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องกาของธุรกิจนั้น  แล้วจึงจัดทำขึ้น  โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนทำงานร่วมกัน  ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในธุรกิจ  เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัด จำหน่าย  ระบบงานสินค้าคงคลัง  ระบบงานบริหารการเงิน 


 (ที่มา :http://www.thaiware.com/upload_misc/software/2011_02/thumbnails/6855_2 011020116475350.jpg)





2) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานนอกจากจะเป็น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ แล้ว  ยังมีซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกเช่น  โปรแกรมช่วยค้นหาคำศัพท์  โปรแกรมเพื่อความบันเทิง


(ที่มา : https://comstucvk503.files.wordpress.com/2015/07/l01717-

0.jpg)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน โดย สุกรี

ซอฟต์แวร์ประยุกต์
soft4

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

      3.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Specific Surpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญงานในด้านนั้น หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนี้ก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมระบบสินค้าของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น



      3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้            1) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) คอมพิวเตอร์สามารถใช้จัดเก็บข้อมูลและจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กันไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล (Database) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่สร้างฐานข้อมูลและจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียกค้นข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase , Paradox , Foxbase , Microsoft Access เป็นต้น โปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูล จะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางที่มีความสัมพันธ์กันแต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือ เรคคอร์ด (Record) และคอลัมน์ที่เรียกว่า ฟิลด์ (Field) แต่ละเรคคอร์ดจะประกอบด้วยฟิลด์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ฐานข้อมูลโรงเรียน จะมีการจัดเก็บประวัตินักเรียน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล วันเกิด เพศ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์



            2) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ในการสร้าง แก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดการรูปแบบเอกสาร ทำให้เอกสารมีรูปแบบที่สวยงาม น่าสนใจ ซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้พิมพ์ไว้จะถูกจัดเป็นแฟ้มข้อมูล (File) สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้และสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้ด้วย ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office Word , Adobe Indesign , CorelDraw , WordPerfect , OpenOffice , Pladao Office เป็นต้น            3) ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ (Caculation Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด นอกจานี้ ผู้ใช้ยังสามารถสร้างกราฟ เพื่อนำเสนอได้อย่างง่ายดาย ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office Excel , OpenOffice Cale ในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น



            4) ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล (Presentation Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารที่ประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง ภาพเคลื่อนไหว นิยมใช้ในการนำเสนอข้อมูลในการบรรยายในชั้นเรียนหรือการประชุม ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office PowerPoint , OpenOffice Impress , Pladao Office เป็นต้น



            5) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยทำงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย เช่น ตกแต่งภาพ วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว สร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ให้มีรูปแบบสวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เป็นโปรแกรมที่ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีลูกเล่นหลากหลาย สามารถสั่งงานตามความต้องการได้ง่าย ซึ่งถือเป็นโปรแกรมหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ




            6) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (Web Site and Communications Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มขึ้น เช่น โปรแกรมสำหรับตรวจสอบอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการและดูแลเว็บไซต์ การส่งข้อความ รวมถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย เป็นต้น

ที่มา https://issaratech.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C/

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เขียนโดย วิชชา

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะ งาน






การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย   ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ   ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมายซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถ ทำงานอื่นได้  เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมเพื่องานออกแบบ โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น1. โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อบัญชี แยกประเภท2. โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม CAM (Computer-Aided Manufactoryand Composition And Make-up) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ดูแลและควบคุมเครื่องจักรกลแทนคน หรืองานประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ กัน ครั้งละมากๆ (Mass-production)3. โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction)โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ(เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ4. เกมส์ (Game) สำหรับผ่อนคลายหลังจากการใช้เครื่องแต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นเพื่อความเพลิดเพลินกว่า   ตัวอย่างของเกมส์เหล่านี้ได้แก่ โปรแกรมเกมส์ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า(Arcade game)  เกมส์บนกระดาน  (Board game) เช่น หมากรุก โมโนโปลีฯลฯ เกมส์ไพ่(Card) เกมส์เสมือนหรือจำลอง5. โปรแกรมเพื่องานออกแบบหรือ CAD (Computer-Aidea Design) เช่น AutoCadAutoLISP และ  DisgnCAD เป็นต้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม6. โปรแกรมตรวจสอบ/ป้องกันไวรัส (Anti-Virus) มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ และมักจะมีคำสั่งให้ทำลายล้างไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfeevirus scan, AVI-scan, Norton Anti-virus เป็นต้น7. โปรแกรมมัลติมีเดีย   (Multimedia)  เป็นซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม CAIหรือทำ Presentation หรือใช้สำหรับดูหนัง  ฟังเพลง  เช่น  Multimedia Toolbook, XingMPEG, Authorware, PowerDVDชนิดอื่นๆ เช่น ระบบธุรกิจต่างๆ งานทำดนตรีงานตัดต่อภาพยนตร์ การวางแผนงาน งานศิลปะ  งานวาดรูป การประมาณการ วิเคราะห์  งานพัฒนา การบริหารโครงงาน
ที่มาhttps://preeya034.wordpress.com